มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีภารกิจด้านวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่มาตรฐานสากล โดยมีการส่งเสริม สนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาดำเนินการวิจัยพัฒนาและต่อยอดให้ได้องค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ให้ผลงานวิจัยได้มีโอกาสเผยแพร่สู่สาธารณะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จึงดำเนินการจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ซึ่งดำเนินการจัดต่อเนื่องมาทุกปี ในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 15 ภายใต้หัวข้อ "วิจัยและพัฒนา บนฐานเศรษฐกิจ BCG สู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน" ในระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการ นำเสนอความรู้และประสบการณ์จากงานวิจัยระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา ทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอก ให้สามารถขับเคลื่อนในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัยในสาขาต่าง ๆ ให้กว้างขวางในอนาคต และเป็นประโยชน์ให้ผู้ที่สนใจสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาค้นคว้างานวิจัยและพัฒนาต่อไป

 

1. เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการ จากงานวิจัย และนำไปพัฒนาต่อยอดงานวิจัย
2. เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ และเกิดการยอมรับในแวดวงวิชาการ
3. เพื่อส่งเสริมและสร้างเครือข่ายทางวิชาการงานวิจัย ทั้งหน่วยงาน ภาครัฐภาคเอกชน คณาจารย์นักวิชาการนักวิจัย นิสิต/นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป

 

1. การบรรยายพิเศษทางวิชาการ
2. การนำเสนอผลงานภาคบรรยาย (Oral Presentation)
3. การนำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)

 

กิจกรรม
กำหนดการ

 ขยายเวลารับบทความ (Full Paper) 

30 เมษายน 2566

31 มีนาคม 2566  

วันสุดท้ายของรับบทความ (ปิดรับเวลา 16.30 น.)

30 เมษายน 2566

การชำระค่าลงทะเบียนล่วงหน้า (Early Bird Rate)

1 – 30 เมษายน 2566

แจ้งผลการพิจารณาบทความ (ผ่านระบบฯ ในเมนูส่งบทความ) รอบที่ 2

25 พฤษภาคม 2566

18 พฤษภาคม 2566

การชำระค่าลงทะเบียนปกติ (Normal Rate)

20 - 31 พฤษภาคม 2566

ผู้นำเสนอผลงานปรับแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ

18  - 31 พฤษภาคม 2566

วันสุดท้ายของการส่งบทความฉบับแก้ไข

31 พฤษภาคม 2566

วันประชุมวิชาการและนำเสนอผลงาน

13 - 14 กรกฎาคม 2566

 
 
 

 

  • เปิดรับบทความประเภท  "บทความวิจัย" และ "บทความวิชาการ" ฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) 
  • ภาษาที่รับบทความ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 

 

การนำเสนอบทความแบบภาษาไทย
1. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และอาหาร
2. วิทยาศาสตร์กายภาพ
3. มัลติมีเดียและแอนิเมชัน
4. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และการสื่อสาร
6. คอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
7. การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal 
8. บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
9. นิเทศศาสตร์
10. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
11. รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์
12. ปรัชญาศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและสังคมศึกษา  
13. การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมบริการ
14. บริหารการศึกษา 
15. หลักสูตรและการสอน
16. วิจัยการศึกษา และ งานประจำสู่งานวิจัย (R to R)
17. การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
18. สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม 
การนำเสนอบทความแบบภาษาอังกฤษ
19. English language Studies

 

ผู้นำเสนอผลงานสามารถเลือกการเผยแพร่ผลงานได้ดังนี้

1. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (Full Paper Proceedings) ในรูปแบบ E-Proceeding

2. วารสาร โดยสามารถส่งบทความและมีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาให้ส่งบทความในวารสารและกระบวนการพิจารณาเป็นไปตามกระบวนการแบบปกติ (Regular Review Process) ทั้งนี้ผู้ส่งบทความสามารถศึกษาข้อมูลในแต่ละวารสารได้ตามลิงก์ 

 
2.1 วารสาร Suranaree Journal of Science and Technology วารสารในฐานข้อมูล Scopus และ Web of Science 
 
2.2. วารสาร Suan Sunandha Science and Technology Journal  (SSSTJ) วารสารในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1

2.3. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลาย วารสารในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 
 
2.4. วารสารวิชาการปทุมวัน วารสารในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 
 
2.5. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร  วารสารในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1