2.2 ศึกษาข้อมูลสถานะและศักยภาพทุนทางสังคมในพื้นที่
สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ใช้กระบวนการศึกษาข้อมูลสถานะและศักยภาพทุนทางสังคมในพื้นที่ โดยการจัดเวทีสนทนากลุ่มเพื่อสะท้อนสถานะและศักยภาพทุนทางสังคม เช่น คนดี คนเก่ง คนสำคัญ กลุ่มทางสังคม องค์ชุมชน หน่วยงาน/ แหล่งประโยชน์ ในพื้นที่ ปัญหาและความต้องการ และแนวทางการแก้ปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยมีคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม แกนนำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน และตัวแทนจากครัวเรือนเป้าหมายในพื้นที่เข้าร่วมเวทีสนทนา ทั้งนี้เพื่อนำใช้ทุนทางสังคมในพื้นที่เป็นกลไกในการร่วมขับเคลื่อนการพัฒนา และยกระดับคุณภาพชีวิตของครัวเรือนยากจนต่อไป
2.3 วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของครัวเรือนยากจน
สถาบันวิจัยและพัฒนาและคณะทำงานได้ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุสาเหตุความยากจนของแต่ละครัวเรือน เพื่อสังเคราะห์ภาพรวมสำหรับวางแผนการดำเนินการในลำดับต่อไป
ปัญหาและความต้องการ (สาเหตุ) |
แนวทางการแก้ปัญหา |
1. ไม่มีที่ดินทำกิน |
--> สร้างแหล่งอาหารในพื้นที่ขนาดเล็ก |
2. ประกอบอาชีพอาชีพรับจ้างทั่วไป (ตามฤดูกาล) |
--> สร้างอาชีพเสริม |
3. มีภาระต้องดูแลสมาชิกในครัวเรือน (ผู้สูงวัย บุพการี ผู้พิการ ผู้ป่วย เด็ก) |
--> เสริมสร้างความสามารถในการดูแลตนเองและ สุขอนามัยในครัวเรือน |
4. สมาชิกในครัวเรือนไม่สามารถประกอบอาชีพ |
--> สร้างอาชีพเสริมให้แก่ผู้สูงวัย |