Statistics Statistics
413404
Online User Online1
Today Today117
Yesterday Yesterday127
ThisMonth This Month5,636
LastMonth Last Month5,519
ThisYear This Year18,472
LastYear Last Year89,924


 

การพัฒนาแก้วกำบังรังสีชนิดใหม่ในระบบแก้วเทลลูไรท์

หัวหน้าโครงการ ภัทรวจี ยะสะกะ

บทคัดย่อ

ระบบแก้วซิงค์แบเรียมเทลลูไรท์ถูกเตรียมขึ้นจาก (90-x)TeO2-10ZnO-xBaO เมื่อ x มีค่าเท่ากับ 25, 30 และ 35 เปอร์เซ็นต์โมล) ด้วยเทคนิคการหลอมที่อุณหภูมิสูงและปล่อยให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว จากนั้นได้ศึกษาสมบัติการป้องกันรังสีแกมมา สมบัติทางกายภาพและสมบัติทางแสง โดยการเปรียบเทียบค่าทฤษฎีและค่าการทดลอง นอกจากนี้ได้ศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนเชิงมวลของแก้วซิงค์แบเรียมเทลลูไรท์วัดที่ระดับพลังงานที่662 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ด้วยเทคนิคการวัดแบบการกระเจิงคอมป์ตัน ผลที่ได้พบว่าค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนเชิงมวล ค่าความหนาครึ่งค่า และค่าความหนาที่ลดลง 10 เท่า มีค่าลดลง เมื่อเพิ่มปริมาณการเจือ BaO มากขึ้น จากการทดลองมีค่าสอดคล้องกับค่าทางทฤษฎีที่คำนวณจากโปรแกรม WinXCom โดยเมื่อเพิ่มปริมาณของ BaO ค่าค่าความหนาครึ่งค่า และค่าความหนาที่ลดลง 10 เท่า จะมีค่าลดลง ความหนาแน่นของระบบแก้วที่ได้มีค่าลดลงในขณะที่ปริมาตรเชิงโมลาร์มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณความเข้มข้นของ BaO เมื่อวัดสเปกตรัมการดูดกลืนแสงในช่วงความยาวคลื่น 200 - 1,100 นาโนเมตร พบว่า ค่าความเข้มของพีคการดูดกลืนแสงสูงขึ้นตามปริมาณความเข้มข้นของ BaO