บทความฉบับเต็ม (Full Papers Proceedings)  

 


 
การปาฐกถาพิเศษ
 
   รับชมการถ่ายทอดสดการบรรยายพิเศษผ่าน Face Live: www.facebook.com/rdi.npru
 
                      
ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
ผู้ก่อตั้ง Bitkub
       และ Group CEO บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด
การปาฐกถาขององค์ปาฐก เรื่อง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา : ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน
 
          การปาฐกถา เรื่อง “Disruptive Technology และการปรับตัวของประเทศไทยสู่อนาคต”
 

 

มาตรการปลอดภัยและป้องกันโควิด-19

 
 
1. ผู้เข้าร่วมประชุมที่สามารถเข้าห้องนำเสนอได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่ลงทะเบียนแบบ ONSITE เท่านั้น
2. ผู้เข้าร่วมประชุมจะต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
3. มีการตรวจวัดอุณหภูมิที่หน้าอาคารนำเสนอ หากวัดค่าได้เกิน 37.5 องศา ไม่อนุญาตให้เข้าอาคาร
4. มีการติดสติกเกอร์เมื่อตรวจวัดอุณหภูมิแล้ว และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนเข้าอาคาร
5. ผู้เข้าร่วมประชุมให้ลงทะเบียนไทยชนะ และลงชื่อเข้าร่วมประชุม ณ หน้าห้องที่นำเสนอของสาขานั้นๆ  และรับเอกสาร  อัพโหลดไฟล์การนำเสนอที่โน๊ตบุ๊คที่จัดเตรียมไว้ให้ ณ ห้องที่นำเสนอ
6. อาหารกลางวันและอาหารว่าง แจกเป็นเซ็ตกล่อง ณ หน้าห้องการนำเสนอ 
7. พิธีเปิดการประชุมและการบรรยายขององค์ปาฐกรับชมผ่านการถ่ายทอดสด ณ ห้องนำเสนอผลงาน
8. กรณีมีเหตุฉุกเฉินแจ้งผู้ดูแลประจำตึก
 

 
 

            

              มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีภารกิจที่สำคัญภารกิจหนึ่งคือภารกิจงานวิจัย โดยมหาวิทยาลัย มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ และบุคลากรดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนางานท้องถิ่น สังคม และประเทศชาติ นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยยังจัดให้มีงานประชุมวิชาการอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด  “ศาสตร์พระราชา และการวิจัยเพื่อสร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Disruptive Technology” ในระหว่างวันที่ 9 – 10  กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างคณาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และนักวิชาการ ทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อนำเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการจากงานวิจัย อันจะนำไปสู่แนวคิด และแนวปฏิบัติ และเกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ทั้งนี้ ย่อมชี้ชัดถึงความเป็นเลิศ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของสถาบันอุดมศึกษา และสอดรับกับหลักการของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า การตีพิมพ์ผลงานของคณาจารย์ทางวิชาการที่มีมาตรฐานเป็นเกณฑ์ชี้วัดที่ประกันคุณภาพอันสำคัญประการหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา


กำหนดการ

กิจกรรม
กำหนดการ
เปิด - ปิดรับบทความ (Full Paper)
ขยายระยะเวลารับบทความ 
ตั้งแต่บัดนี้  – 30  เมษายน  2563
ตั้งแต่บัดนี้ – 29 พฤษภาคม  2563
แจ้งผลการพิจารณาบทความ
 6  พฤษภาคม  2563
5  มิถุนายน  2563
ส่งบทความแก้ไขฉบับสมบูรณ์ 
31 พฤษภาคม  2563
12  มิถุนายน  2563
วันสุดท้ายการชำระค่าลงทะเบียน (Early Bird Rate)
1 – 10  มิถุนายน  2563
วันสุดท้ายการชำระค่าลงทะเบียน (Normal Rate)
9  – 10  กรกฎาคม  2563
นำเสนอผลงาน
9  – 10  กรกฎาคม  2563
 
สาขาที่เปิดให้นำเสนอผลงาน
1.ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
2.วิทยาศาสตร์กายภาพ 
3.คณิตศาสตร์และสถิติ   
4.คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์  และการสื่อสาร
6.คอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
7.การพยาบาลและการสาธารณสุขที่ทันสมัยในยุคปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพสังคม
8.บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์   
9.นิเทศศาสตร์            
10.มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
11.รัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์
12.อาเซียนศึกษา และการระหว่างประเทศ
13.ปรัชญา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
14.การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมบริการ 
15.บริหารการศึกษา
16.หลักสูตรและการสอน
17.วิจัยการศึกษาและงานประจำสู่งานวิจัย (R to R)
18.การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 
19.การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น