หลักการและเหตุผล

             มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีภารกิจที่สำคัญภารกิจหนึ่งคือภารกิจงานวิจัย โดยมหาวิทยาลัย มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ และบุคลากรดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนางานท้องถิ่น สังคม และประเทศชาติ นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยยังจัดให้มีงานประชุมวิชาการอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 13 ภายใต้แนวคิด การวิจัย สร้างดุลยภาพชีวิตเพื่อรองรับ New Normal ในระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษา ทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อนำเสนอแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการจากงานวิจัย อันจะนำไปสู่แนวคิด และแนวปฏิบัติ และเกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ทั้งนี้ ย่อมชี้ชัดถึงความเป็นเลิศ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของสถาบันอุดมศึกษา และสอดรับกับหลักการของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า การตีพิมพ์ผลงานของคณาจารย์ทางวิชาการที่มีมาตรฐานเป็นเกณฑ์ชี้วัดที่ประกันคุณภาพอันสำคัญประการหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา

กำหนดการ

กิจกรรม กำหนดการ
เปิด - ปิดรับบทความ (Full Paper)
ขยายระยะเวลารับบทความ 
ตั้งแต่บัดนี้  – 31  มีนาคม  2564 30 เมษายน 2564
15 พฤษภาคม  2564
ส่งบทความประเมิน จนถึง 20 พฤษภาคม 2564
วันสุดท้ายการชำระค่าลงทะเบียน (Early Bird Rate) 1 – 25 พฤษภาคม  2564
แจ้งผลการพิจารณาบทความ 25 พฤษภาคม  2564
ส่งบทความแก้ไขฉบับสมบูรณ์  16 – 31  พฤษภาคม 2564
วันสุดท้ายการชำระค่าลงทะเบียน (Normal Rate) 8  – 9  กรกฎาคม  2564
นำเสนอผลงาน 8  – 9  กรกฎาคม  2564
 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการจากงานวิจัย นำไปพัฒนาต่อยอดงานวิจัย อันจะนำไปสู่แนวคิด และแนวปฏิบัติของอาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมกับอาจารย์หรือนักวิจัยหน่วยงานภายนอก ตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน 
2. เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ และเกิดการยอมรับในแวดวงวิชาการ
3. เพื่อส่งเสริมและสร้างเครือข่ายงานวิชาการงานวิจัยและสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศ
 

สาขาที่เปิดให้นำเสนอผลงาน

1.ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
2.วิทยาศาสตร์กายภาพ 
3.คณิตศาสตร์และสถิติ   
4.คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์  และการสื่อสาร
6.คอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
7.การพยาบาลและการสาธารณสุขที่ทันสมัยในยุคปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพสังคม
8.บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์   
9.นิเทศศาสตร์            
10.มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
11.รัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์
12.อาเซียนศึกษา และการระหว่างประเทศ
13.ปรัชญา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
14.การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมบริการ 
15.บริหารการศึกษา
16.หลักสูตรและการสอน
17.วิจัยการศึกษาและงานประจำสู่งานวิจัย (R to R)
18.การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
19.การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
20.สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน อนามัยสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
 

รูปแบบการจัดกิจกรรม

1. การบรรยายพิเศษทางวิชาการ
2. การนำเสนอผลงานภาคบรรยาย (Oral Presentation)
3. การนำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)
 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ    

  สถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 
 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการจากงานวิจัย อันจะนำไปสู่แนวคิด และแนวปฏิบัติ ของอาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมกับอาจารย์หรือนักวิจัยหน่วยงานภายนอก
2. ได้สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ ให้มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ และเกิดการยอมรับในแวดวงวิชาการ
3. ได้ส่งเสริมและสร้างเครือข่ายงานวิชาการงานวิจัยและสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศ