♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦-♦

เข้าสู่ระบบ

ระบบยืนยันตัวบุคคล
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

สถิติผู้เข้าชมเว็ปไซต์

Statistics Statistics
169531
Online User Online2
Today Today34
Yesterday Yesterday72
ThisMonth This Month2,135
LastMonth Last Month3,148
ThisYear This Year11,718
LastYear Last Year20,920

การจัดการความรู้ (KM)

ความหมายของการบริหารจัดการความรู้

       ก.พ.ร. (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ) : การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเอง ให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถใน เชิงแข่งขันสูงสุด

ทฤษฎีการจัดการความรู้

       ทฤษฎีวงจรความรู้ (Knowledge Spiral : SECI Model) ของ Nonaka & Takeuchi เป็นทฤษฎีหนึ่งของการบริหารจัดการความรู้ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย เหมาะกับบริบทของคนไทยที่นิยม การถ่ายทอดความรู้จากคนสู่คน และสามารถอธิบายจากมุมมองของความรู้ Expicit Knowledge และ Tacit Knowledge สลับไปมาได้ จนเกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ ไม่หยุดนิ่ง เป็นวงจรหมุนเวียนตลอดเวลา SECI Model แบ่งการแลกเปลี่ยนความรู้ออกเป็น 4 วิธี คือ
       1. Socialization เป็น การแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้จาก Tacit Knowledge สู่ Tacit Knowledge คือ จากคนไปสู่คนโดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงของผู้สื่อสารระหว่างกัน อาจอยู่ในรูปการพูดคุยระหว่างกันอย่างไม่เป็นทางการ รูปแบบการประชุม พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิธีแก้ปัญหาในงาน การสอนงานระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง
       2. Externalization เป็นการดึงความรู้ จาก Tacit Knowledge ออกมาเป็น Explicit Knowledge คือ ดึงความรู้จากภายในตัวคนถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ตำรา คู่มือปฏิบัติงาน
       3. Combination เป็น การรวบรวมความรู้ที่ได้จาก Explicit Knowledge ออกมาเป็น Explicit Knowledge คือ รวบรวมความรู้จากหนังสือ ตำรา Explicit Knowledge มาสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit Knowledge ใหม่ ๆ
       4. Internalization เป็นการนำความรู้จาก Explicit Knowledge กลับเข้าไปเป็นความรู้ TacitKnowledge คือ การนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปปฏิบัติจริง เช่น หัวหน้างานเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน (เป็น Explicit) เมื่อลูกน้องอ่านแล้วสามารถทำงานได้ จะเกิดเป็นความรู้ประสบการณ์อยู่ในตัวลูกน้อง

องค์ประกอบสำคัญของการบริหารจัดการความรู้

    
 วงจรความรู้มีองค์ประกอบสำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ
       1. คน เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด เพราะเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ หากไม่มีคนจะทำให้ความรู้นั้น ไม่สามารถเกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ถ่ายทอดได้ด้วยตัวของมันเอง
       2. เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือที่ทำให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน และนำความรู้ไปใช้ได้อย่างสะดวก ง่ายดาย และรวดเร็วขึ้น
       3. กระบวนการจัดการความรู้ เป็น การบริหารจัดการเพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงและเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ การบริหารจัดการความรู้และการทำให้เกิดวงจรความรู้ใหม่ ๆ ตลอดเวลานั้นคนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิด นวัตกรรมใหม่ เพราะ คนเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยมีเทคโนโลยี  และกระบวนการช่วยทำให้คนได้ความรู้ตรงกับความต้องการในเวลาที่เขาต้องการ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหลักการ (Concept) ของการบริหารการจัดการความรู้
        ดังนั้น กระบวนการบริหารจัดการความรู้จึงมุ่งพัฒนาบุคลากรและพัฒนางานให้ความรู้อยู่ คู่กับองค์กร เป็นการสร้างศักยภาพ  ขององค์กรให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

กระบวนการจัดการความรู้

       กระบวน การในการจัดการความรู้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด Right Knowledge, Right People, Right Time ซึ่งมีขั้นตอนในกระบวนการจัดการความรู้ ดังนี้
       1. การบ่งชี้ความรู้ที่จำเป็นต้องมี (Knowledge Identification)
     - ศึกษาวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายขององค์กร เพื่อสร้างความเข้าใจให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้คนในองค์กรดำเนินการบริหารจัดการความรู้ไปในทิศทางเดียวกัน
     - วิเคราะห์รูปแบบและแหล่งความรู้ที่มีอยู่ เพื่อใช้ความรู้นั้นในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย พันธกิจ และวิสัยทัศน์ขององค์กร
     - ประเมินระดับความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ว่าภายในองค์กรมีความรู้อยู่ในรูปแบบใด
       2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) - สร้างและแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆที่กระจัดกระจายทั้งภายใน/ภายนอกเพื่อจัดทำเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการ
       3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) - จัดแบ่งชนิดและประเภทความรู้ เพื่อจัดทำระบบให้ง่ายและสะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน
       4. การประมวลและกลั่นกลองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
     - จัดรูปแบบและ “ภาษา” เอกสารที่มาจากแหล่งต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร
     - เรียบเรียงปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและตรงกับความต้องการ
       5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) - ความสามารถในการเข้าถึงความรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ (Everytime Everywhere) อย่างสะดวก รวดเร็ว ในเวลาที่ต้องการ
       6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
     - การแลกเปลี่ยนความรู้ถ่ายทอดเป็นลายลักษณ์อักษร (Tacit Knowledge สู่ Explicit Knowledge)
     - การถ่ายทอดความรู้จากคนสู่คน (Tacit Knowledge สู่ Tacit Knowledge) เช่น การสับเปลี่ยนงาน (Job Rotation) เพื่อเรียนรู้งานอื่นๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากงานที่เคยทำ
       7. การเรียนรู้ (Learning) - นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาและปรับปรุงองค์กร

ประโยชน์ของการบริหารจัดการความรู้ 

     การจัดการความรู้ที่ดีจะช่วยพัฒนาองค์กร ดังต่อไปนี้
       1. ปรับปรุงประสิทธิภาพ และเพิ่มผลผลิต ให้กับทุกภาคส่วนขององค์กร
       2. สร้างนวัตกรรมและการเรียนรู้ รวมถึงการส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้ได้อย่างเต็มที่
       3. เพิ่มคุณภาพและลดรอบเวลาในการให้บริการ
       4. ลดค่าใช้จ่าย โดยกำจัดกระบวนการที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับงาน
       5. ให้ความสำคัญกับความรู้ของพนักงานและให้ค่าตอบแทนและรางวัลที่เหมาะสม