การพัฒนาแก้วที่เติม Dy3+ สำหรับการประยุกต์ใช้เป็นวัสดุเปล่งเเสงขาวประเภทของแข็ง
หัวหน้าโครงการ ณัฐพล ศรีสิทธิโภคกุล
บทคัดย่อ
จุดประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาสมบัติทางแสง และการเปล่งแสงของแก้ว BaO-Li2O- B2O3 ที่เจือด้วย Dy2O3 การเลือกไอออนของ Dy3+ เป็นตัวเจือเนื่องจากมีการเปล่งแสงอยู่ในช่วงวิสิเบิล 3 ช่วง สีน้ำเงิน (470–485 นาโนเมตร; 4F9/26H15/2) สีเหลือง (570–580 นาโนเมตร; 4F9/26H13/2) และสีแดง (640–655 นาโนเมตร; 4F9/26H11/2) และสามารถประยุกต์ใช้ในด้านเลเซอร์ ไดโอดเปล่งแสงสีขาว เทคโนโลยีการสื่อสาร และหน้าจอแสดงผล โดยแก้ว BaLiBDy มีองค์ประกอบเป็น (30-x)B2O3 : 20BaO :50Li2O : xDy2O3 เมื่อ x=0.0, 0.1, 0.3, 0.5 และ 1.0 ร้อยละโดยโมล ซึ่งถูกเตรียมด้วยวิธีการทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว และทำการเคราะห์ค่าความหนาแน่น การวัดค่าการดูดกลืนแสง และการเปล่งแสง ที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน ค่าความหนาแน่น ปริมาตรเชิงโมล และค่าดัชนีหักเหมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของ Dy2O3 ในระบบแก้ว ค่าสีของการเปล่งแสงในระบบ CIE ถูกคำนวณจากสเปกตรัมการเปล่งแสงซึ่งปรากฎอยู่ในช่วงแสงสีขาวเมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลต
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 85 ถนนมาลัยแมน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000
Research and Development Institute, Nakhon Pathom Rajabhat University 85 Malaiman Road, Muang, Nakhon Pathom 73000
โทร 034-261053, โทรสาร 034-261053 E-Mail : saraban_rdi@npru.ac.th