Statistics Statistics
530856
Online User Online1
Today Today143
Yesterday Yesterday245
ThisMonth This Month2,639
LastMonth Last Month7,036
ThisYear This Year55,718
LastYear Last Year80,206


 

การพัฒนาแก้วกำบังรังสีชนิดใหม่ที่มีลูเทเทียมเป็นส่วนผสม

หัวหน้าโครงการ กีรติ เกิดศิริ

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้เป็นโครงการวิจัยต่อเนื่องในปีแรก ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแก้วกำบังรังสีที่มีลูเทเทียมเป็นส่วนผสม โดยโครงการวิจัยในปีแรกได้เตรียมแก้วลูเทเทียมที่มีสูตรเคมี คือ xLu2O3 : 20LiO2 : (80-x)B2O3 mol%  เมื่อ x คือ ปริมาณความเข้มข้นของ Lu2O3 ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0, 5, 10, 15, 20 และ 25 mol%  โดยอาศัยเทคนิคการหลอมเหลวแล้วทำให้เย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว  จากนั้นจึงนำตัวอย่างแก้วที่เตรียมได้ไปศึกษาสมบัติทางกายภาพ สมบัติทางแสง และสมบัติการป้องกันรังสีแกมมาที่มีพลังงาน 662 keV  ผลจากการศึกษาพบว่าความหนาแน่นและปริมาณเชิงโมล พบว่าปริมาณทั้งสองมีค่าเพิ่มสูงขึ้นตามปริมาณของ Lu2O3  ผลการศึกษาสเปกตรัมการดูดกลืนแสงของตัวอย่างแก้วในช่วงความยาวคลื่น 200 – 2100 นาโนเมตร  ไม่พบพีคการดูดกลืนแสงเกิดขึ้นในแก้วตัวอย่างทั้งสามชิ้น จึงส่งผลให้ตัวอย่างแก้วใส และไม่มีสี   และสำหรับการศึกษาสมบัติการป้องกันรังสีแกมมานั้น ผู้วิจัยจะศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนเชิงมวลของตัวอย่างแก้วโดยใช้เทคนิคการส่งผ่านรังสี และการคำนวณโดยใช้โปรแกรม WinXCom  จากนั้นจะนำค่าจากทั้งสองวิธีมาเปรียบเทียบกัน  ซึ่งผลจาการศึกษาพบว่าค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนเชิงมวลที่ได้จากการทดลองและจากการคำนวณมีการแปรค่าตามปริมาณความเข้มข้นของ Lu2O3 ที่เหมือนกัน  กล่าวคือ เมื่อเพิ่มปริมาณของ Lu2O3 ที่เติมลงในตัวอย่างแก้วมากขึ้นจะทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนเชิงมวลสูงขึ้น  ผู้วิจัยยังได้ศึกษาค่า HVL และค่า TVL ของแก้วตัวอย่างที่เตรียมได้ในงานวิจัย  จากนั้นนำค่า HVL ไปเปรียบเทียบกับคอนกรีต 4 ชนิด ที่ถูกนำมาใช้งานด้านการกำบังรังสี  ซึ่งผลจากการเปรียบเทียบค่า HVL นั้น จะพบว่าค่า HVL ของแก้วตัวอย่างที่มีปริมาณของ Lu2O3 15 mol% มีค่า HVL ต่ำกว่าค่าของคอนกรีตที่นำมาเปรียบเทียบ  และจะมีค่า HVL ใกล้เคียงกับของแก้วตะกั่ว  จากการศึกษาทั้งหมดที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นอาจสรุปได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะสามารถพัฒนาแก้วระบบลูเทเทียมลิเทียมบอเรต เพื่อนำไปประยุกต์ใช้เป็นแก้วกำบังรังสีแกมมาที่มีพลังงาน 662 keV ทดแทนการใช้แก้วตะกั่วได้