ผลของอุณหภูมิการอบแห้งด้วยเทคนิคฟลูอิไดเซชันร่วมกับบรรจุภัณฑ์ที่มีต่ออายุการเก็บรักษาของข้าวเหนียวก่ำ
หัวหน้าโครงการ นิตยา จันกา
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคนิคการอบแห้งหลังการเก็บเกี่ยวและบรรจุภัณฑ์ เพื่อชะลอการเสื่อมสภาพของคุณภาพด้านสี ปริมาณแอนโทไซยานิน ปริมาณสารฟีนอลทั้งหมด ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและการก่อตัวของกรดไขมันอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นเหม็นหืนในข้าวเหนียวก่ำ อบแห้งตัวอย่างข้าวเปลือกที่ความชื้นหลังการเก็บเกี่ยว 25 เปอร์เซ็นต์มาตรฐานเปียก (% w.b.) ถูกอบแห้งด้วยเครื่องฟลูอิไดซ์เบดแบบงวดที่อุณหภูมิสูง 100 130 และ 150 ?C จนกระทั่งความชื้นลดลงเหลือ 18 % w.b. จากนั้นกะเทาะเปลือกและบรรจุข้าวเหนียวก่ำน้ำหนัก 50 กรัมบรรจุลงในถุงพลาสติกสาน ถุงลามิเนต และถุงลามิเนตร่วมกับตัวดูดซับออกซิเจน ทำการเก็บรักษาที่อุณหภูมิบรรยากาศเป็นระยะเวลา 90 วัน ผลการวิเคราะห์คุณภาพภายหลังการอบแห้งพบว่า อุณหภูมิสูงสุดที่ควรใช้ในการอบแห้งคือ 130 ?C การใช้อุณหภูมิดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของข้าว นอกจากนี้ยังทำให้กรดไขมันอิสระมีการก่อตัวลดลง อย่างไรก็ตามข้าวที่ผ่านการอบแห้งควรเก็บรักษาในถุงลามิเนตร่วมกับตัวดูดซับออกซิเจนเนื่องจากสามารถชะลอการเสื่อมสภาพของคุณภาพได้ดีที่สุด
คำสำคัญ: ข้าวเหนียวก่ำ, การอบแห้งหลังการเก็บเกี่ยว, บรรจุภัณฑ์, การเสื่อมสภาพ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 85 ถนนมาลัยแมน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000
Research and Development Institute, Nakhon Pathom Rajabhat University 85 Malaiman Road, Muang, Nakhon Pathom 73000
โทร 034-261053, โทรสาร 034-261053 E-Mail : saraban_rdi@npru.ac.th