โครงการอบรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สำหรับชุมชน/ ท้องถิ่น

 ภายใต้โครงการวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะสำหรับควบคุมระบบฟาร์มอัตโนมัติ

 

กิจกรรม : การปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ภายในโรงเรือน

 

 1. หลักการและเหตุผล

      ไฮโดรโพนิกส์ เป็นทางเลือกหนึ่งของการปลูกพืชให้มีคุณภาพ มีความสม่ำเสมอ ผลผลิตสูง สามารถกำหนดปริมาณการผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือความต้องการของตลาดได้ดีกว่า เนื่องจากสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่ให้แก่พืชได้อย่างเหมาะสม ทำให้ปลูกพืชได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมีผู้สนใจและต้องการเข้ามาศึกษาการปลูกผักในระบบไฮโดรโพนิกส์มากขึ้น ประกอบกับแหล่งค้นหาความรู้เพิ่มเติมมีมากขึ้นด้วย ทำให้มีผู้สนใจในขอบข่ายของการปลูกพืชไฮโดรโพนิกส์เป็นจำนวนมาก

    โครงการวิจัยวิศวกรรมเกษตรแม่นยำสำหรับควบคุมระบบฟาร์มอัจฉริยะเพื่อพัฒนาความสามารถชุมชน/ ท้องถิ่น มีเป้าหมายเพื่อเป็นคำตอบให้กับชุมชน/ ท้องถิ่นในการสร้างความยั่งยืนด้านการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเสริมสร้างและเป็นแนวทางให้เกษตรกร สามารถมีภูมิคุ้มกันพร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นจากแนวทางดังที่กล่าวมา สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ ซึ่งเป็นรูปแบบของการเกษตรที่สามารถดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้หันมาทำธุรกิจการเกษตรให้มากขึ้น ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของประเทศอย่างมาก

 

 2. วัตถุประสงค์

       1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรให้กับกลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไป

       2. เพื่อส่งเสริมด้านการเกษตรเชิงการพัฒนานวัตกรรมสู่ชุมชน

       3. เพื่อพัฒนาความสามารถชุมชน/ ท้องถิ่น ในการสร้างความยั่งยืนด้านการเกษตร

 

 3. กลุ่มเป้าหมาย

      บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัย (ประชาชนทั่วไป) จำนวน 5 ครั้งๆ ละ 30 คน

 

 4. สถานที่ดำเนินการ

       สถานีวิจัยเกษตรฯ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 

 5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

      1. จำนวนชุมชน/ ท้องถิ่นที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 5 ครั้ง

     2. ชุมชน/ ท้องถิ่นกลุ่มเกษตรกร สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ระดับดี

 

 6. ระยะเวลาดำเนินการ

      กิจกรรมที่เข้าร่วมอบรมจำนวน 5 ครั้ง

      ครั้งที่ 1 วันที่ 1 มิถุนายน 2560    

      ครั้งที่ 2 วันที่ 8 มิถุนายน 2560    

      ครั้งที่ 3 วันที่ 15 มิถุนายน 2560    

      ครั้งที่ 4 วันที่ 22 มิถุนายน 2560    

      ครั้งที่ 5 วันที่ 29 มิถุนายน 2560    

 

 7. กำหนดการจัดอบรม

เวลา

รายละเอียดการอบรม

8.00-8.30 น.

- ลงทะเบียน

8.30-9.30 น

- ประวัติและความเป็นมาของการปลูกไร้ดิน

- การปลูกพืชในสารละลายและการปลูกพืชในวัสดุแทนดิน

- ระบบที่ใช้ในการปลูกพืชไร้ดิน

10.30-10.45 น.

- รับประทานอาหารว่าง

10.45-12.00 น.

-ศึกษาตัวอย่างจริงการปลูกพืชไร้ดินในระบบ DRFT

-ศึกษารายละเอียดโครงสร้างของระบบ DRFT

12.00-13.00 น.

- พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-15.30 น.

- กิจกรรมการปลูก โดยลงมือปฏิบัติ

  - การเพาะเมล็ดพันธุ์ในฟองน้ำ

  - การผสมปุ๋ย

  - การนำต้นกล้าลงปลูกในแปลงปลูก

  - การเติมปุ๋ย

15.30-15.45 น.

- รับประทานอาหารว่าง

15.45-18.00 น.

- โรคพืช ศัตรูพืช การป้องกันและการรักษา

- การวางแผนการผลิตและการตลาด

- สรุปกิจกรรม

 

สามารถดาว์นโหลดไฟล์ PDF โครงการได้ที่นี่

 

สถานที่     เบอร์ติดต่อผู้ประสานงาน 034-109-300 ต่อ 3021 (พัชรกมล)