Statistics Statistics
48306
Online User Online1
Today Today9
Yesterday Yesterday35
ThisMonth This Month631
LastMonth Last Month777
ThisYear This Year2,924
LastYear Last Year45,066

 

 

   มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ส่งเสริมและสนับสนุนให้ คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา ผลิตผลงาน
วิจัยที่มีคุณภาพ เปิดโอกาสเวทีให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัยและนักวิชาการ อื่น ๆ
และเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณชน  ซึ่งผลงานด้านวิจัย  ถือเป็นภารกิจสำคัญของสถาบันอุดมศึกษาที่จะพัฒนา
องค์ความรู้ใหม่และนำไปสู่การพัฒนาประเทศ  ซึ่งมีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการผลักดันขับเคลื่อนและยกระดับงาน
ด้านการวิจัย ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จึงได้จัดงานการประชุมวิชาการระดับชาติ และจัดมาอย่างต่อเนื่อง
ทุกปี โดยในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 16 ในระหว่างวันที่ 4 – 5 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี
นครปฐม ซึ่งกิจกรรมประกอบด้วย การปาฐกถาพิเศษ และการนำเสนอผลงานทางวิชาการ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยน
ทางวิชาการ นำเสนอความรู้และประสบการณ์จากงานวิจัยระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้เข้า
ร่วมประชุมทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอก  ให้สามารถขับเคลื่อนในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ
ด้านการวิจัยในสาขาต่างๆ ให้กว้างขวางในอนาคต และเป็นประโยชน์ให้ผู้ที่สนใจสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการ
ศึกษาค้นคว้างานวิจัยและพัฒนาต่อไป

     มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม  ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ซึ่งจะก่อเกิด
การแลกเปลี่ยนความรู้ และเผยแพร่ผลงานวิชาการต่อสาธารณระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และ
ผู้เข้าร่วมประชุม  ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางสำหรับการพัฒนาต่อยอดผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อประเทศ
ชาติในอนาคต 

 

Soft Power: พลังสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

 

1. เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการจากงานวิจัยและนำไปพัฒนาต่อยอดงานวิจัย 

2. เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ และเกิดการยอมรับในแวดวงวิชาการ

3. เพื่อส่งเสริมและสร้างเครือข่ายทางวิชาการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณาจารย์นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต/นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป 

 

1. การบรรยายพิเศษทางวิชาการ

2. การนำเสนอผลงานภาคบรรยาย (Oral Presentation)

3. การนำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)

 

1. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และอาหาร  

2. วิทยาศาสตร์กายภาพ  คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์

3. มัลติมีเดียและแอนิเมชัน

4. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

5. คอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา

6. บริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และท่องเที่ยว

7. นิเทศศาสตร์ 

8. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

9. ปรัชญาศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและสังคมศึกษา  

10. การศึกษา

11. งานประจำสู่งานวิจัย (R to R)

12. สาธารณสุข สุขภาพ สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม 

13. English Language and Culture

14. Sustainable Development Goals

 

  • เปิดรับบทคัดย่อและบทความฉบับสมบูรณ์

  • เปิดรับบทความประเภท  "บทความวิจัย" และ "บทความวิชาการ" 

  • ภาษาที่รับบทความ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ