Slider images
Slider images
Slider images
Slider images
Slider images
Slider images
Slider images

 
 
  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีภารกิจด้านวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่มาตรฐานสากล โดยมีการส่งเสริม สนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาดำเนินการวิจัยพัฒนาและต่อยอดให้ได้องค์ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ให้ผลงานวิจัยได้มีโอกาสเผยแพร่สู่สาธารณะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จึงดำเนินการจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ซึ่งดำเนินการจัดต่อเนื่องมาทุกปี ในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 15 ภายใต้หัวข้อ "วิจัยและพัฒนา บนฐานเศรษฐกิจ BCG สู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน" ในระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการ นำเสนอความรู้และประสบการณ์จากงานวิจัยระหว่างคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา ทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอก ให้สามารถขับเคลื่อนในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการวิจัยในสาขาต่าง ๆ ให้กว้างขวางในอนาคต และเป็นประโยชน์ให้ผู้ที่สนใจสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาค้นคว้างานวิจัยและพัฒนาต่อไป

 

1. เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการ จากงานวิจัย และนำไปพัฒนาต่อยอดงานวิจัย
2. เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ และเกิดการยอมรับในแวดวงวิชาการ
3. เพื่อส่งเสริมและสร้างเครือข่ายทางวิชาการงานวิจัย ทั้งหน่วยงาน ภาครัฐภาคเอกชน คณาจารย์นักวิชาการนักวิจัย นิสิต/นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป

 

1. การบรรยายพิเศษทางวิชาการ
2. การนำเสนอผลงานภาคบรรยาย (Oral Presentation)
3. การนำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ (Poster Presentation)

 

กิจกรรม
กำหนดการ

 ขยายเวลารับบทความ (Full Paper) 

30 เมษายน 2566

31 มีนาคม 2566  

วันสุดท้ายของรับบทความ (ปิดรับเวลา 16.30 น.)

30 เมษายน 2566

การชำระค่าลงทะเบียนล่วงหน้า (Early Bird Rate)

1 – 30 เมษายน 2566

แจ้งผลการพิจารณาบทความ (ผ่านระบบฯ ในเมนูส่งบทความ) รอบที่ 2

25 พฤษภาคม 2566

18 พฤษภาคม 2566

การชำระค่าลงทะเบียนปกติ (Normal Rate)

20 - 31 พฤษภาคม 2566

ผู้นำเสนอผลงานปรับแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ

18  - 31 พฤษภาคม 2566

วันสุดท้ายของการส่งบทความฉบับแก้ไข

31 พฤษภาคม 2566

วันประชุมวิชาการและนำเสนอผลงาน

13 - 14 กรกฎาคม 2566

 
 
 

  

  • เปิดรับบทความประเภท  "บทความวิจัย" และ "บทความวิชาการ" ฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) 
  • ภาษาที่รับบทความ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 

 

การนำเสนอบทความแบบภาษาไทย
1. วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และอาหาร
2. วิทยาศาสตร์กายภาพ
3. มัลติมีเดียและแอนิเมชัน
4. คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และการสื่อสาร
6. คอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
7. การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal 
8. บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
9. นิเทศศาสตร์
10. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
11. รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์
12. ปรัชญาศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและสังคมศึกษา  
13. การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมบริการ
14. บริหารการศึกษา 
15. หลักสูตรและการสอน
16. วิจัยการศึกษา และ งานประจำสู่งานวิจัย (R to R)
17. การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
18. สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม 
การนำเสนอบทความแบบภาษาอังกฤษ
19. English language Studies

 

ผู้นำเสนอผลงานสามารถเลือกการเผยแพร่ผลงานได้ดังนี้

1. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (Full Paper Proceedings) ในรูปแบบ E-Proceeding

2. วารสาร โดยสามารถส่งบทความและมีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาให้ส่งบทความในวารสารและกระบวนการพิจารณาเป็นไปตามกระบวนการแบบปกติ (Regular Review Process) ทั้งนี้ผู้ส่งบทความสามารถศึกษาข้อมูลในแต่ละวารสารได้ตามลิงก์ 

 
2.1 วารสาร Suranaree Journal of Science and Technology วารสารในฐานข้อมูล Scopus และ Web of Science 
 
2.2. วารสาร Suan Sunandha Science and Technology Journal  (SSSTJ) วารสารในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1

2.3. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลาย วารสารในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 
 
2.4. วารสารวิชาการปทุมวัน วารสารในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 
 
2.5. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร  วารสารในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 
 

 

 
รายละเอียดโครงการ
โปสเตอร์โครงการ
แบบฟอร์มการจัดทำบทความ(Template) (Oral&Poster)
คู่มือลงทะเบียนและการส่งบทความต้นฉบับ
คู่มือการโอนเงินค่าลงทะเบียน

แบบฟอร์มสำหรับการตรวจและแก้ไขบทความ

คู่มือการส่งบทความฉบับแก้ไข
คู่มือการพิมพ์แบบตอบรับ
 


1. สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และอาหาร
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ จุลชีวิทยา ชีววิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ ชีวเคมี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 
เกษตร ทางด้านพืชไร่ พืชสวน โรคพืช แมลงศัตรูพืช จุลินทรีย์ทางการเกษตร ปฐพีวิทยา สัตวบาล นวัตกรรมเกษตร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
อาหาร ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร นวัตกรรมอาหาร การแปรรูปอาหาร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

2. สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ
วิทยาศาสตร์กายภาพ ฟิสิกส์ เคมี วัสดุศาสตร์  วิทยาศาสตร์ศึกษา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

 

3. สาขามัลติมีเดียและแอนิเมชัน 
Multimedia, Animation, Computer Graphics, Games, 2D, 3D, AR, VR, MR, XR

 

4. สาขาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
e-Commerce, Database Design, Software Engineering, Software Development, Systems Analysis and Design,
Management Information Systems, Executive Information Systems, Management of Technology,
Decision Support Systems, Expert Systems, Data Mining, Data Warehousing, MIS/IT Employment Market,
Intranet/Internet Technology, Telecommunications, Communications and Network Management,
Wireless communication, Computer and Information Security, Disaster Planning, Disaster Recovery,
Groupware/Collaboration Software, Enterprise Software, Enterprise Resource Planning Systems,
Ethical and Legal Factors of IT, Emerging Programming Languages, Operations Management,
Behavioral Issues in MIS/IT, MIS/IT Related Topics.

 

5.สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และการสื่อสาร
ไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์กำลัง พลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน ระบบราง วงจรอิเล็กทรอนิกส์
ระบบสื่อสารไร้สาย ระบบการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล  ระบบปัญญาประดิษฐ์ และหัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

6.สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
คอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา
และงานวิจัยที่นำคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอน

 

7.สาขาการิวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal
พยาบาลศาสตร์ การวิจัยด้านสุขภาพ แนวปฏิบัติทางการพยาบาล นวัตกรรมทางการพยาบาล

 


 8.สาขาบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์  
บริหารธุรกิจ การบัญชี พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 


9.สาขานิเทศศาสตร์
 นิเทศศาสตร์ การสื่อสารมวลชน การประชาสัมพันธ์ วิทยุโทรทัศน์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

 


 10.สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์   
ศิลปศาสตร์ วิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ภาษาและวรรณคดี นาฏกรรมศิลปวัฒนธรรม คติชนวิทยา
รวมถึงมนุษยศึกษาที่ใช้ความรู้ในเชิงสหวิทยาการและพหุสาขาวิชาในการวิเคราะห์ อาทิ ประชากรศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จิตวิทยา อาชญาวิทยา กระบวนการยุติธรรม สิ่งแวดล้อม ศิลปกรรมศาสตร์ พัฒนาสังคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิศาสตร์สังคม เพศวิถี อาเซียนศึกษา ไทยศึกษา และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

 

11. สาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์

รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์

 


12. สาขาปรัชญาศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและสังคมศึกษา  
ปรัชญา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและสังคมศึกษา 

 


13. สาขาการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมบริการ
การท่องเที่ยว การโรงแรม และอุตสาหกรรมบริการ

 


14. สาขาบริหารการศึกษา 

รูปแบบการบริหารสถานศึกษาและการบริหารการศึกษา ภาวะผู้นำทางการศึกษา
การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ นวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา การศึกษาในยุคดิจิทัล  

 


15. สาขาหลักสูตรและการสอน

การออกแบบและพัฒนาหลักสูตรและ/หรือการเรียนการสอน นวัตกรรมหลักสูตรและ/
หรือการเรียนการสอนควรแสดงถึงผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยการประเมินหลักสูตร การประเมินการจัดการเรียนรู้
และการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครู และการงานนิเทศการสอน กรณีงานวิจัยให้แสดงระเบียบวิธีวิจัยกลุ่มตัวอย่าง
และค่าคุณภาพของเครื่องมือวิจัยให้ครบถ้วน กรณีบทความวิชาการให้แสดงแนวคิดหรือแนวปฏิบัติของผู้นำเสนอร่วมด้วย

 


16. สาขาวิจัยการศึกษา และ งานประจำสู่งานวิจัย (R to R)
วิจัยสถาบัน วิจัยการศึกษา และ R to R

 


17. สาขาการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
การพัฒนาชุมชนเมืองและชนบทในทุกมิติอย่างยั่งยืน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านกาย จิต สังคมและปัญญา

 



18. สาขาสาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
สาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ครอบคลุมในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ นโยบายสุภาพและการจัดการการดูแลสุขภาพ
การส่งเสริมสุขภาพ สุขศึกษา พฤติกรรมสุขภาพ อาชีวอนามัย อนามัยสิ่งแวดล้อม พิษวิทยา
สาธารณสุขชุมชน ทันตสาธารณสุข เภสัชสาธารณสุข และสาขาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

19. English language Studies
Translanguaging , Localization and globalization in foreign language teaching, Intercultural communication, 
Language assessment ,Innovative pedagogy , Diversity in language learning and teaching ,
Technology and innovation , Language, literature, culture and folklore, Translation and
translation studies,Thai history, art and culture, Economics and politics in Thailand