ลงทะเบียนส่งผลงาน ผ่านระบบ Online Submission
 
1. กำหนดการส่งผลงาน
สามารถส่งบทความต้นฉบับ ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 มีนาคม 2566 30 เมษายน 2566
 
2. ประเภทบทความที่รับ
2.1 บทความวิจัย (Full Paper)  ประกอบด้วยเนื้อหาอย่างน้อย ดังนี้ บทคัดย่อ บทนำ วิธีวิจัย/วิธีการศึกษา (ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือและการหาคุณภาพเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล) ผลการวิจัยและอภิปรายผล สรุปผล และเอกสารอ้างอิง 
2.2 บทความวิชาการ (Full Paper) ประกอบด้วยเนื้อหาอย่างน้อย ดังนี้ บทคัดย่อ บทนำ การทบทวนและนำเสนอวรรณกรรม การวิเคราะห์ประเด็นตามหลักวิชาการ สรุปผลและแสดงทัศนะทางวิชาการ และเอกสารอ้างอิง
 
3. ภาษาที่รับบทความ
รับบทความ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 
 
4. การลงทะเบียนและส่งผลงาน
4.1 ลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ เพื่อสมัครสมาชิกและกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
4.2 จัดเตรียมไฟล์บทความฉบับเต็ม (Full paper) โดยจัดทำตามรูปแบบฟอร์มบทความของงานประชุมฯ (Template) เท่านั้น และเตรียมไฟล์  Word  จำนวน  1  ไฟล์ และไฟล์ PDF จำนวน  1  ไฟล์
4.3 การส่งบทความ ส่งบทความผ่านระบบฯ และปฏิบัติตาม คู่มือการส่งบทความ 
 
Download แบบฟอร์มบทความ (Template) 

 


คำแนะนำการจัดเตรียมผลงานตามแบบฟอร์มบทความ (Template)

1. ประเภทบทความที่รับผลงาน

  • บทความวิจัยและบทความวิชาการฉบับเต็ม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

2. การตั้งค่าหน้ากระดาษ (page setup)

  • พิมพ์แนวตั้ง (portrait) ขนาด A4
  • ทุกด้านกระดาษให้มีระยะขอบ (margins) ด้านละ 1 นิ้วเท่ากันทั้งหมด
  • ไม่ใส่เลขหน้าในบทความ
  • บทความมมีความยาวบทความไม่เกิน 12 หน้า
  • จัดหน้าแบบ 1 คอลัมน์

3. รูปแบบตัวอักษร

  • TH SarabunPSK ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • จัดชิดขอบซ้าย-ขวา แบบกระจายแบบไทย (Thai Distributed)

4. ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร

  • ขนาด 18 point ตัวหนา , กำหนดจัดให้อยู่กึ่งกลางหน้า

5. ชื่อคณะผู้วิจัยภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร

  • ขนาด 16 point  ตัวธรรมดา , กำหนดจัดให้อยู่กึ่งกลางหน้า

6. ชื่อหน่วยงานหรือสถานบันของผู้เขียน และ E-mail ผู้เขียนบทความหลัก (*)

  • ขนาด 14 point ตัวธรรมดา, จัดให้อยู่กึ่งกลางหน้า

7. บทคัดย่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

  • ชื่อ "บทคัดย่อ" และ "Abstract" ขนาด 14 point ตัวหนา , กำหนดจัดให้อยู่กึ่งกลางหน้า
  • ข้อความบทคคัดย่อภาษาไทยและอังกฤษ ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 14 point ตัวธรรมดา , กำหนดจัดให้อยู่กึ่งกลางหน้า

8. การพิมพ์เนื้อเรื่อง

  • หัวเรื่องหลัก ขนาด 14 point , ตัวหนา
  • หัวเรื่องรอง ขนาด 14 point , ตัวหนา
  • เนื้อหา ขนาด 14 point , ตัวธรรมดา

9. การเว้นบรรทัด

  • เว้นบรรทัดหัวเรื่องหลัก ขนาด 14 point
  • เว้นบรรทัดหัวเรื่องรอง ขนาด 8 point

10. การอ้างอิงแทรกในเนื้อหาบทความ

(การอ้างอิงในเนื้อหาบทความที่เป็นภาษาไทย จะต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด)

10.1 การอ้างอิงในเนื้อหาบทความเป็นการอ้างอิงแทรกเข้าไปในเนื้อหาเพื่อบ่งบอกให้ทราบว่า ข้อความนั้นหรือเนื้อหาส่วนนั้น ได้มาจากการอ้างอิงหรือมีการกล่าวถึงในเอกสารหรือแหล่งที่มาใด การอ้างอิงในเนื้อหาบทความที่เป็นภาษาไทยจะต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยรูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหาบทความกำหนดให้ใช้แบบระบบตัวเลข (Number System) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ตัวเลขแทนชื่อผู้เขียนเอกสาร โดยให้ใช้หมายเลขอ้างอิงในวงเล็กสี่เหลี่ยม [X] สามารถเขียนได้ 2 วิธีคือ 

วิธีที่ 1  ระบุชื่อผู้แต่งไว้ข้างหน้า และใส่วงเล็กสี่เหลี่ยม [X] ตามด้วยข้อความที่ถอดความ/สรุป หรือ อ้างมา เช่น

  • Mana [1] ....
  • Aneta and Ondrej [8] กล่าวถึง...
  • Estriegana et al.[12] กล่าวถึง...

วิธีที่ 2  อ้างอิงข้อความที่อ้างมาก่อน แล้วตามด้วยวงเล็บหมายเลขเอกสารกำกับ โดยไม่ต้องระบุผู้เขียน เช่น 

" กล้วยไม้ในสกุล Dendrobium เป็นหนึ่งในสกุลกล้วยไม้ที่ถูกค้นพบสายพันธุ์ถึง 1,100 ชนิด ซึ่งกระจายอยู่ในทวีปเอเชีย ยุโรป และออสเตรเลีย [1] ในประเทศไทยมีมากกว่า 150 ชนิด [2] กล้วยไม้เหล่านี้มีสารฟีนอล (phenol) ในโครงสร้าง ได้แก่ bibenzyl, phenanthrene และ fluorenone เป็นองค์ประกอบหลัก [3] การศึกษาทางเภสัชวิทยาแสดงให้เห็นว่าสารกลุ่มฟีนอล โดยเฉพาะ moscatilin มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่หลากหลาย เช่น ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammation) ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ฤทธิ์ต้านการเจริญของหลอดเลือด (anti-angiogenesis) [4-6]"

10.2 การระบุหมายเลขกำกับของเอกสาร

10.2.1 ให้ใส่ตัวเลขตามลำดับของการอ้างอิงที่ปรากฏในเนื้อหาของบทความเรียงจากลำดับตั้งแต่เลข 1 เป็นต้นไป  [1]  ….. [X] โดยไม่พิจารณาว่าอักษรตัวแรกของผู้แต่งเป็นอักษรใด (ไม่ต้องเรียงตามตัวอักษร และไม่แยกภาษา)

10.2.2 กรณีที่มีการอ้างอิงซ้ำให้ใช้ตัวเลขเดิมที่เคยใช้อ้างอิงมาก่อนแล้ว

10.2.3 แหล่งที่อ้างอิงในเนื้อบทความทั้งหมดจะต้องไปปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิง (References) ท้ายบทความ โดยเรียงตามลำดับหมายเลข และพิมพ์หมายเลขอยู่ในวงเล็บเหลี่ยม [X]

10.3.4 การอ้างอิงเอกสารหลายรายการในคราวเดียวกัน

1. การอ้างอิงไม่เกิน 2 รายการให้ใส่หมายเลขของเอกสารที่อ้างอิงเรียงลำดับโดยใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่น เช่น [1, 2] หรือ [1, 5]

2. การอ้างอิงมากกว่า 2 รายการและเป็นรายการที่ต่อเนื่องกันให้ใส่หมายเลขของเอกสารที่อ้างอิงเรียงตามลำดับและใส่เครื่องหมายยัติภังค์ (-) คั่น เช่น [1-3] หรือ [1-5]

3. การอ้างอิงมากกว่า 2 รายการและเป็นรายการทั้งต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องกัน ให้ใส่หมายเลขของเอกสารที่อ้างอิงเรียงตามลำดับโดยใส่เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นในกรณีไม่ต่อเนื่อง และเครื่องหมายยัติภังค์ (-) คั่นในกรณีต่อเนื่อง เช่น [1, 4-5]

10.3 ไม่ให้เขียนอธิบายในเชิงอรรถ หากต้องการอธิบายเนื้อหาหรือคำเฉพาะใด ๆ ให้เขียนอธิบายในบทความเท่านั้น เพื่อให้บทความมีความเป็นมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อให้เอกสารประกอบการประชุมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย

11.การเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ (References)

(การอ้างอิงเอกสารท้ายบทความที่เป็นภาษาไทย จะต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด)

11.1 กำหนดให้มีรายการเอกสารอ้างอิงมากกว่า 5 รายการ และมีความทันสมัยจัดพิมพ์ไม่เกิน 10 ปี ย้อนหลัง

11.2 การอ้างอิงท้ายบทความ ให้จัดเรียงตามลำดับเลขที่ผู้เขียนใช้อ้างอิงในเนื้อหาโดยจะมีหมายเลขลำดับของเอกสารอ้างอิงในวงเล็บสี่เหลี่ยม

11.3 รายการเอกสารอ้างอิงที่เป็นภาษาไทย จะต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดและใส่ (In Thai) ต่อท้ายเอกสารอ้างอิง

11.4 รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ APA 7 (American Psychological Association)

หมายเหตุ : 1 บทความที่ส่งเกินระยะเวลาที่รับสมัคร คณะกรรมการจะไม่พิจราณาบทความของท่าน
             2 คณะกรรมการฯ จะไม่รับพิจารณา หากพบว่าผลงานของท่านไม่เป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณา
 
»» ตรวจสอบก่อนส่งผลงาน
1. บทความที่ส่งเข้าร่วมนำเสนอจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน
2. บทความที่ส่งเข้าร่วมเป็นบทความวิจัยและบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) เท่านั้น
3. บทความต้องจัดทำตามแบบฟอร์ม Template และตรงตามรูปแบบที่งานประชุมวิชาการกำหนดไว้
4. บทความต้องไม่ซ้ำซ้อน หรือละเมิดลิขสิทธิ์จากผลงานของผู้อื่น