ศูนย์บริการวิชาการธรรมสุทัศน์
ด้วยหน่วยวิจัยพุทธพัฒน์เกิดขึ้นจากการรวมตัวของคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประกอบด้วยสาขาวิชาสังคมศึกษา สาขาวิชการพัฒนาชุมชน และกลุ่มวิชาการอาเซียนศึกษา จำนวนทั้งสิ้นสิบคนหน่วยวิจัยพุทธพัฒน์จึงเป็นที่รวมของบุคลากรที่มีความสามารถอย่างหลากหลายทั้งทางด้านประวัติศาตร์ ปรัชญาและศาสนา การสอนสังคมศึกษา การพัฒนาชุมชน อาเซียนศึกษา และมีคณาจารย์ที่มีประสบการณ์การศึกษาในดินแดนพุทธภูมิประเทศอินเดียจำนวนสองท่าน คณาจารย์จากหน่วยวิจัยพุทธพัฒน์ได้ร่วมกันพัฒนางานวิชาการและงานวิจัยเกี่ยวกับการประยุกต์ให้หลักพุทธธรรมมาพัฒนาชุมชนด้านต่างๆ อย่างหลากหลายมีผลงานก้าวหน้าไปตามลำดับจนเป็นที่ยอมรับของชุมชนในมหาวิทยาลัยภายนอก มีการทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ หลายด้านทำให้หน่วยงานต่าง ๆมีความต้องการรับบริการวิชาการจากหน่วยวิจัยพุทธพัฒน์ในหลาย ๆ ด้าน
ด้วยศักยภาพของคณาจารย์หน่วยวิจัยพุทธพัฒน์และความต้องการรับบริการทางวิชาการของชุมชนต่าง ๆ หน่วยวิจัยพุทธพัฒน์เล็งเห็นช่องทางที่จะนำศักยภาพทางวิชการของคณาจารย์ที่จะเอาองค์ความรู้ความเชียวชาญจากงานวิจัยและประสบการณ์ที่สั่งสมมาแต่อดึตไปเผยแพร่ผลงานและบริการในรูปของการบริการเชิงพานิชได้ จึงได้เกิดโครงการจัดตั้งศูนย์บริการวิชาการธรรมสุทัศน์ขึ้นเพื่อให้สามารถดำเนินการเผยแพร่ผลงานวิชาการและบริการวิชาการ อันประกอบด้วยการบริการนำศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรมในดินแดนพุทธภูมิประเทศอินเดีย เนปาลและศรีลังกาและประเทศอาเซียน การบริการนำศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรม ณ ธรรมสถานในประเทศไทย การบริการหลักสูตรฝึกอบรมคุณธรรมและจริยธรรม การบริการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ และบริการงานวิชาการอื่น ๆ