ศูนย์บริการวิชาการธรรมสุทัศน์
ข้อมูลพื้นฐานของศูนย์บริการวิชาการธรรมสุทัศน์
1. หลักการและเหตุผล
ด้วยหน่วยวิจัยพุทธพัฒน์เกิดขึ้นจากการรวมตัวของคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประกอบด้วยสาขาวิชาสังคมศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน และกลุ่มวิชาอาเซียนศึกษา จำนวนทั้งสิ้นสิบคน หน่วยวิจัยพุทธพัฒน์จึงเป็นที่รวมของบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอย่างหลากหลายทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ปรัชญาและศาสนา การสอนสังคมศึกษา การพัฒนาชุมชน อาเซียนศึกษา และมีคณาจารย์ที่มีประสบการณ์การศึกษาในดินแดนพุทธภูมิประเทศอินเดียจำนวนสองท่าน คณาจารย์จากหน่วยวิจัยพุทธพัฒน์ได้ร่วมกันพัฒนางานวิชาการและงานวิจัยเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมมาพัฒนาชุมชนด้านต่าง ๆ อย่างหลากหลายมีผลงานก้าวหน้าไปตามลำดับจนเป็นที่ยอมรับของชุมชนในมหาวิทยาลัยและภายนอก มีการทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ หลายด้านทำให้หน่วยงานต่าง ๆ มีความต้องการรับบริการวิชาการจากหน่วยวิจัยพุทธพัฒน์ในหลาย ๆ ด้าน
ด้วยศักยภาพของคณาจารย์หน่วยวิจัยพุทธพัฒน์และความต้องการรับบริการทางวิชาการของชุมชนต่าง ๆ หน่วยวิจัยพุทธพัฒน์เล็งเห็นช่องทางที่จะนำศักยภาพทางวิชาการของคณาจารย์ที่จะนำเอาองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญจากงานวิจัยและประสบการณ์ที่สั่งสมมาแต่อดีตไปเผยแพร่ผลงานและบริการในรูปของการบริการเชิงพานิชย์ได้ จึงได้เกิดโครงการจัดตั้งศูนย์บริการวิชาการธรรมสุทัศน์ขึ้นเพื่อให้สามารถดำเนินการเผยแพร่ผลงานวิชาการ และบริการวิชาการ อันประกอบด้วยการบริการนำศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรมในดินแดนพุทธภูมิประเทศอินเดีย เนปาลและศรีลังกาและในประเทศอาเซียน การบริการนำศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรม ณ ธรรมสถานในประเทศไทย การบริการหลักสูตรฝึกอบรมคุณธรรมและจริยธรรม การบริการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ และการบริการงานวิชาการอื่น ๆ
2. วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อบริการนำศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรมในดินแดนพุทธภูมิประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา และประเทศอาเซียน
2. เพื่อบริการนำศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรม ณ บุญสถานในประเทศไทย
3. เพื่อบริการฝึกอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมคุณธรรมและจริยธรรมแนวใหม่
4. เพื่อบริการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ
5. เพื่อบริการวิชาการอื่น ๆ เช่น งานแปลหนังสือ ตำรา บทความวิชาการ แนะแนวการสอบโอเนต เอเนต และเตรียมสอบบรรจุข้าราชการครูสังคมศึกษา เป็นต้น
3. กลุ่มเป้าหมาย พุทธศาสนิกชน ครูอาจารย์ บุคลากรภาครัฐและเอกชน นักเรียนนักศึกษา บุคคลทั่วไป
4. รูปแบบกิจกรรม
1. บริการนำศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรมในประเทศและต่างประเทศ
2. บริการฝึกอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมคุณธรรมและจริยธรรมแนวใหม่
3. บริการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ
4. บริการงานวิชาการ เช่น การวิจัย แนะแนวการสอบโอเนต เอเนต และเตรียมสอบบรรจุข้าราชการครูสังคมศึกษา เป็นต้น
5. สมาชิกศูนย์บริการวิชาการฯ
1. อาจารย์วรากรณ์พูลสวัสดิ์ หัวหน้าศูนย์
2. อาจารย์พิสิฐ สุขสกล กรรมการ
3. อาจารย์ญาณภัทร ยอดแก้ว กรรมการ
4. อาจารย์กนกอร สว่างศรี กรรมการ
5. อาจารย์ปัญญา รุ่งเรือง กรรมการ
6. อาจารย์ธิติพงศ์ มีทอง กรรมการ
7. อาจารย์ณรงค์วรรษ บุญมา กรรมการ
8. อาจารย์แพรภัทร ยอดแก้ว กรรมการ
9. อาจารย์ปิยนาถ อิ่มดี กรรมการและเลขานุการ
10. นางสาวกาญจนา ทันใจชนกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อมูลพื้นฐานของหน่วยวิจัยพุทธพัฒน์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
1. ชื่อหน่วยวิจัย : พุทธพัฒน์ (หน่วยวิจัยเพื่อการพัฒนาชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืนด้วยพุทธธรรม)
2. หน่วยงานต้นสังกัด : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
3. ชื่อหัวหน้าหน่วยวิจัย และคณะนักวิจัย :
1. อาจารย์วรากรณ์พูลสวัสดิ์ หัวหน้าหน่วยวิจัย
2. อาจารย์พิสิฐ สุขสกล นักวิจัย
3. อาจารย์ญาณภัทร ยอดแก้ว นักวิจัย
4. อาจารย์กนกอร สว่างศรี นักวิจัย
5. อาจารย์ปัญญา รุ่งเรือง นักวิจัย
6. อาจารย์ณรงค์วรรษ บุญมา นักวิจัย
7. อาจารย์แพรภัทร ยอดแก้ว นักวิจัย
8. อาจารย์ปิยนาถ อิ่มดี นักวิจัย
4. ที่ปรึกษาหน่วยวิจัย ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัยที่อยู่ภายใต้หน่วยวิจัย และคณะนักวิจัย :
ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย (1) หน่วยวิจัยพุทธพัฒน์เพื่อการสังเคราะห์องค์ความรู้จากคัมภีร์
1. อาจารย์ ดร.มนตรี วิวาห์สุข หัวหน้ากลุ่มวิจัย ร้อยละของการมีส่วนร่วมในกลุ่มวิจัย 40
2. อาจารย์พิสิฐ สุขสกล นักวิจัย ร้อยละของการมีส่วนร่วมในกลุ่มวิจัย 30
3. อาจารย์กนกอร สว่างศรี นักวิจัย ร้อยละของการมีส่วนร่วมในกลุ่มวิจัย 30
ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย (2) หน่วยวิจัยพุทธพัฒน์เพื่อพัฒนาชีวิตและสังคมด้วยการประยุกต์พุทธธรรม
1. อาจารย์วรากรณ์พูลสวัสดิ์ หัวหน้ากลุ่มวิจัย ร้อยละของการมีส่วนร่วมในกลุ่มวิจัย 40
2. อาจารย์ปิยนาถ อิ่มดี นักวิจัย ร้อยละของการมีส่วนร่วมในกลุ่มวิจัย 30
3. อาจารย์ปัญญา รุ่งเรือง นักวิจัย ร้อยละของการมีส่วนร่วมในกลุ่มวิจัย 30
ชื่อห้องปฏิบัติการวิจัย (3) หน่วยวิจัยพุทธพัฒน์เพื่อการเผยแพร่และสร้างเครือข่ายทางพุทธศาสนา
1. อาจารย์ญาณภัทร ยอดแก้ว หัวหน้ากลุ่มวิจัย ร้อยละของการมีส่วนร่วมในกลุ่มวิจัย 40
2. อาจารย์แพรภัทร์ ยอดแก้ว นักวิจัย ร้อยละของการมีส่วนร่วมในกลุ่มวิจัย 30
3. อาจารย์ณรงค์วรรษ บุญมา นักวิจัย ร้อยละของการมีส่วนร่วมในกลุ่มวิจัย 30
5. หลักการและเหตุผลในการขอจัดตั้ง :
1) พระพุทธศาสนามีประโยชน์ต่อมนุษยชาติเพราะมีหลักธรรมเพื่อการขัดเกลาให้เป็นคนดี คือ ทำให้คนดำเนินชีวิตตนอย่างมีความสุขและสังคมได้ประโยชน์
2) หลักธรรมทั้งหมดของพระพุทธศาสนาปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก
3) มนุษย์จึงควรศึกษาพระไตรปิฎกเพื่อนำหลักธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สุขแก่ชีวิตและสังคม
4) นครปฐมเป็นแหล่งศึกษาพระพุทธศาสนาที่สำคัญทั้งระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นและหน่วยงานระดับชาติ
5) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาสู่สากล
6) คณาจารย์ที่เกี่ยวข้องจึงควรประสานจุดเด่นทั้งสามประการเข้าด้วยกันเพื่อเป็นหน่วยศึกษาพระไตรปิฎกและนำไปพัฒนาชีวิตและสังคมทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ
6. วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง :
เพื่อใช้พระพุทธศาสนาเป็นกลไกในการพัฒนาชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืน
7. กิจกรรม
1) ศึกษาพระไตรปิฎก คัมภีร์ เอกสาร และภูมิปัญญาท้องถิ่นทางพระพุทธศาสนา
2) ประสานและสร้างเครือข่ายปราชญ์และองค์กรทางพระพุทธศาสนา
3) ประยุกต์หลักธรรมเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคมในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
4) ฝึกอบรมบุคลากรที่สามารถนำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้และเผยแพร่ให้กับสังคม
5) เผยแพร่ผลจากการศึกษาและการปฏิบัติจากสี่ข้อข้างต้น