ประวัติความเป็นมา

         แอลอีดีหรือ LED (Light Emitting Diode) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ให้ความสว่างด้วยแสงอันกำเนิดมาจาก โซลิดเสตทหรือสารที่อยู่ในสถานะของแข็ง (solid state) กำลังเข้ามาแทนที่หลอดไฟแบบเดิม เนื่องจากการประหยัดพลังงานโดยรวมสูงมาก แอลอีดีเมื่อเทียบกับหลอดไฟให้ความสว่าง ทั้งหลอดไส้ หลอดประหยัดไฟหรือหลอดยาว/ผอมหรือฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) แล้ว จะใช้กำลังไฟน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกันที่ค่าความสว่างเสมอเท่ากัน จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า โดยรวมประสิทธิภาพการประหยัดไฟของแอลอีดีนี้เป็นที่ชัดเจนว่าสูงได้ถึงประมาณ 75% อายุการใช้งานยาวนานกว่าแบบชนิดหลอดถึง 25 เท่าโดยประมาณ

          นอกเหนือไปจากการให้ความสว่างแล้ว การกำเนิดของเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมด้วยการพ่วงใช้มากับการส่องสว่างของแอลอีดีดังกล่าวนั้น กำลังเป็นพัฒนาการที่สร้างผลกระทบทั้งมูลค่าและการประยุกต์อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจาก การใช้งานแอลอีดีหรือการขับวงจรเพื่อให้ความสว่างออกมานั้นสามารถปรับ/บังคับให้ผสมการเปลี่ยนแปลงจังหวะการขับความสว่างนั้นได้ด้วยความเร็วที่สูงมาก (มากกว่าหลักล้านครั้งต่อวินาที (Mbps) และสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามพัฒนาการ) จึงเกิดเป็นศักยภาพเพื่อการส่งข้อมูลขึ้น เกิดประโยชน์เสริมนอกจากการให้ความสว่างที่ประหยัดพลังงานคือ เพื่อการควบคุม การตรวจจับ (sensor) และการสื่อสารในพื้นที่ที่ให้ความสว่างนั้นได้ด้วย  อันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ บ้าน สำนักงาน หรือโรงงานอัฉริยะ   

          โดยพื้นฐานการนำการส่องสว่างมาประยุกต์ใช้ร่วมกับข้อมูลดังกล่าวนี้ ทำให้การสื่อสารระยะใกล้ตัว (Personal Area Network) มีความเร็วที่สูงขึ้น และมีความปลอดภัยเพราะอยู่ในบริเวณที่มองเห็นความสว่างของแสงนั้นได้ เหมาะสำหรับความต้องการการสื่อสารในพื้นที่ปลอดคลื่นสัญญาณวิทยุด้วย เช่น ในอากาศยาน โรงพยาบาล ห้องปฏิบัติการหรือหน่วยงานที่ต้องการหลีกเลี่ยงคลื่นวิทยุรบกวนและเพื่อประโยชน์อื่นๆ อีกมาก

          โดยสรุป “การส่องสว่างข้อมูล”ที่กล่าวมานี้มีคำจำกัดความโดยสังเขปคือ“เมื่อเปิดไฟให้ความสว่างจากแอลอีดี จะได้การสื่อสารข้อมูลปลอดภัยพ่วงมาด้วย” จึงเรียกวิทยาการควบรวมนี้ว่า “การสื่อสารด้วยแสงที่มองเห็นได้” หรือ Visible Light Communications (VLC) อันเป็นเทคโนโลยีใหม่ด้านการสื่อสารไร้สายใช้แสงที่อยู่ในช่วงที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้เป็นตัวกลางนำสัญญาณ และเป็นระบบการสื่อสารที่มีศักยภาพสูงมาก

         จากผลงานวิจัยตลาดของทีม ABI research เมื่อต้นปี พ.ศ.2557 ระบุว่าการมาของเทคโนโลยีการส่องสว่างข้อมูลด้วยแสงที่มองเห็นได้เมื่อผนวกกับคุณสมบัติของแอลอีดีที่มีอยู่เดิมแล้ว จะกลายเป็นตัวปลดล๊อกข้อจำกัดเทคโนโลยีการระบุตำแหน่งในอาคารแบบเดิมที่ใช้จำพวกอาร์เอฟไอดี (RFID) บลูทูธ (Bluetooth) หรือการสื่อสารไร้สายระยะใกล้อื่นๆ เพราะตลาดนี้มีขนาดมูลค่าถึง 5 พันล้านเหรียญ ส่วนของ MarketsandMarkets ที่ระบุรายงานการสำรวจตลาดทั่วโลกของการส่องสว่างข้อมูลสู่งานเครือข่ายการสื่อสารภายในอาคาร ใต้น้ำ การระบุตำแหน่ง และการจราจรอัจฉริยะคาดการณ์รวมว่าจะสูงถึง 6,138.02 ล้านเหรียญในปี พ.ศ.2561 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีตั้งแต่ พ.ศ.2556 ที่เริ่มสำรวจ (หรือ CAGR) สูงถึง 82% และมีอุตสาหกรรมและผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งรายเก่าและรายใหม่ๆ รวมมากกว่าสามสิบแห่งทั่วโลกแล้วที่เข้าสู่ตลาดการผลิตเทคโนโลยีแสง รวมทั้งได้มีมาตรฐานในระดับนานาชาติประกาศใช้แล้วคือการสื่อสารระยะใกล้ตัวด้วยแสง IEEE 802.15.7 (VLC) และ JEITA CP-1223 ของประเทศญี่ปุ่น

         ประเทศไทยจึงควรได้ตระหนักในการติดตามเทคโนโลยีโทรคมนาคมมาตรฐานใหม่นี้เพื่อการเพิ่มโอกาส รวมทั้งเตรียมการรองรับได้ทัน เช่น การพัฒนาบุคลากร การวิจัยและพัฒนา การคาดการณ์และวางแผนที่นำทางเทคโนโลยี การพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อลดการสูญเสียเงินตราเพื่อการจัดซื้อจัดหาในอนาคต เช่น เทคโนโลยีเกิดใหม่อื่นๆ ก่อนหน้า

          แต่เนื่องจากการส่องสว่างข้อมูลเป็นเทคโนโลยีใหม่ สำหรับประเทศไทยซึ่งได้เริ่มให้ความสนใจเป็นอย่างมากกับด้านการประหยัดพลังงานแล้ว หากด้านการสื่อสารข้อมูลที่ควบรวมยังมิได้มีหน่วยงานที่ทำกิจกรรมตอบรับกับเทคโนโลยีดังกล่าวมากนัก ทั้งด้านภาคการศึกษา อุตสาหกรรม และผู้กำหนดนโยบาย ดังนั้น จากการรวมกลุ่มของนักวิชาการ (กลุ่ม LED-SmartCoN>>) ที่ได้จัดกิจกรรมวิชาการในช่วงเวลาที่ผ่านมาโดยลำดับแล้วนั้น จึงได้พัฒนาต่อยอดเป็น “โครงการพัฒนาความพร้อมระดับประเทศของการสื่อสารด้วยแสงสว่าง: การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากรด้านกิจการโทรคมนาคม การจัดทำร่างมาตรฐาน และสื่อ” นี้ เพื่อที่จะทำการสำรวจ ศึกษา ติดตามเทคโนโลยีแอลอีดีเพื่อการให้ความสว่างที่ประหยัดพลังงาน และการควบรวมกับการสื่อสารข้อมูลยุคใหม่และวิเคราะห์มาตรฐานเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยจะรวมกลุมผูสนใจทั้งภาคนโยบาย ภาคการศึกษาและวิจัย และผูใชงานหรือผูประกอบการ (VLC consortium) สูการเตรียมความพรอมเพื่อการคุมครองผูผลิต ผูใหบริการและผูใชงานเทคโนโลยีใหมนี้ได้ในอนาคตได้ทัน ลดการสูญเสียจากการนำเข้าเทคโนโลยีในอนาคต ทั้งนี้จะมีกิจกรรมที่ส่งเสริมทุกส่วนงานเช่น การสรางความรวมมือ การศึกษา และการถายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งมาตรฐานจากประเทศพัฒนาแลว เพื่อฝกอบรมถายทอดความรูตอผูมีความสนใจดานการสองสวางขอมูลในประเทศไทย หรือการศึกษาเชิงเปรียบเทียบพัฒนาการของตางประเทศทั้งการลงทุน ผลงานวิจัย สิทธิบัตรและทรัพยสินทางปญญา (Intellectual Properties Surveys) การประยุกต และกลไกการผลักดันสูภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ออกมาในรูปสื่อ หนังสือ หรือคูมือเพื่อการฝกอบรมและการเผยแพรออนไลนสาธารณะ ทั้งดานเทคนิคสําหรับภาคการศึกษาและอุตสาหกรรม และความรูทั่วไปสําหรับผูใชงานและผูสนใจ เพื่อการพัฒนาบุคลากรดังเป้าหมายหลักของโครงการ 

Statistics Statistics
31007
Online User Online1
Today Today6
Yesterday Yesterday5
ThisMonth This Month223
LastMonth Last Month111
ThisYear This Year929
LastYear Last Year2,523

เข้าสู่ระบบ