Tourist Spots

"องค์พระปฐมเจดีย์"

 "องค์พระปฐมเจดีย์"เป็นปูชนียสถานทางพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยสร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเมื่อครั้งพระองค์โปรดให้สมณทูตมาประกาศพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมินักปราชญ์ทางโบราณคดีมีความเห็นตรงกันว่าสมณทูตในครั้งนั้นคือพระโสณเถระและพระอุตรเถระคณะสมณทูตได้เดินทางมาถึงเมืองถมทองหรือนครปฐมเมื่อปีพ.ศ.๒๓๕การเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้ดำเนินตลอดมาโดยมีกษัตริย์ที่ปกครองดินแดนในสุวรรณภูมิยอมรับพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตจนถึงปีพ.ศ.๒๔๖พระโสณเถระได้ให้สร้างวัดขึ้นเป็นแห่งแรกในเขตสุวรรณภูมิที่เมืองถมทองนี้ต่อมาได้มีการสร้างพระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเมื่อปีพ.ศ.๒๖๕พระภูริยเถระผู้ทำนิมิตพัทธสีมาตั้งชื่อวัดว่า "วัดพุทธบรมธาตุ" ซึ่งถือว่าเป็นวัดแรกและพระเจดีย์องค์แรกของพระพุทธศาสนาในดินแดนแถบนี้พระปฐมเจดีย์นี้เดิมเป็นสถูปรูปบาตรคว่ำแบบสัญจิเจดีย์ในประเทศอินเดียการบูรณะปฏิสังขรณ์พระสถูปเจดีย์ได้กระทำอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระองค์โปรดให้วัดขนาดขององค์พระเจดีย์รวมความสูง๔๐วา๒ศอกต่อมาครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จธุดงค์มานมัสการพระเจดีย์นี้และเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ก็ได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์ก่อพระเจดีย์ใหม่ห่อหุ้มองค์เดิมไว้เมื่อพ.ศ.๒๓๙๖มีขนาดสูง๑๒๐เมตร๔๕เซนติเมตรมีลักษณะเป็นพระเจดีย์รูประฆังคว่ำปากผายโครงสร้างเป็นไม้ซุงก่ออิฐถือปูนประดับด้วยกระเบื้องมีพระวิหารทั้งสี่ทิศเชื่อมต่อด้วยคตพระระเบียงการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วพระราชทานนามว่า"พระปฐมเจดีย์"พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงยกยอดพระมหามงกุฎของพระปฐมเจดีย์เมื่อปีพ.ศ.๒๔๑๓และต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีการซ่อมพระวิหารหลวงเขียนภาพตัดขวางให้เห็นพระปฐมเจดีย์องค์เดิมซ่อมพระวิหารด้านทิศเหนือและอัญเชิญพระร่วงโรจนฤทธิ์มาประดิษฐานในพระวิหารด้านทิศเหนือนี้การบูรณะปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ได้กระทำอย่างต่อเนื่องและจริงจังในสมัยรัชกาลปัจจุบันโดยใช้หลักวิทยาการสมัยใหม่เพื่ออนุรักษ์พระปฐมเจดีย์นี้ให้มั่นคงถาวรอยู่คู่ฟ้าเมืองไทยตลอดไป

 

"พระราชวัง สนามจันทร์"

               "พระราชวังสนามจันทร์"พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แปรพระราชฐานไปประทับที่นครปฐมบ่อยครั้งทำให้ทรงคุ้นเคยกับภูมิประเทศของเมืองนครปฐมและบริเวณใกล้เคียงจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาวิศุกรรมศิลป์ประสิทธิ์ดำเนินการก่อสร้างพระราชวังสนามจันทร์ขึ้นเมื่อ ปี 2450 ไว้เป็นที่มั่น เพื่อเตรียมพร้อมรับวิกฤตการณ์ของประเทศอันอาจเกิดขึ้นเนื่องจากพระองค์ทรงระลึกถึงเหตุการณ์ ร.ศ.112 เมื่อ 13 กรกฎาคม 2436 ที่ฝรั่งเศสนำเรือรบ 2 ลำ รุกล้ำอธิปไตยของไทยบริเวณพื้นที่ดินดอนของนครปฐมนี้จึงเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม สามารถใช้เป็นค่ายหลวงสำหรับประชุมซ้อมรบเสือป่าและเพื่อแปรพระราชฐานไปประทับพักผ่อนพระอิริยาบถได้พระราชวังสนามจันทร์ประกอบด้วยพระที่นั่งและพระตำหนักต่างๆโดยหมู่พระที่นั่งนั้นประกอบด้วย พระที่นั่ง 4 องค์ ที่ออกแบบให้มีทางเดินเชื่อมต่อถึงกัน อันได้แก่ พระที่นั่งพิมานปฐม พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี พระที่นั่งวัชรีรมยา และพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ มาที่นี่ต้องดู! ห้องพระเจ้า หอพระประจำพระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงเป็นผู้ออกแบบเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและพระเศวตฉัตรกั้นเหนือพระพุทธรูปและมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นภาพเทพพนมแต่งตัวตามแบบเทวดาและมนุษย์ที่ปรากฏในชิ้นศิลาต่างๆที่ขุดได้ในบริเวณใกล้พระปฐมเจดีย์ที่เขียนขึ้นที่นี่ก่อนจะนำไปเขียนที่ผนังพระวิหารหลวง และภาพดังกล่าวได้ปรากฏอยู่ ณ สถานที่ทั้งสองตราบจนปัจจุบัน